วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 1 , 23 ,มกราคม 2560

บันทึกอนุทิน
วิชา : การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experience Management in Early Childhood Education )
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
ประจำวันที่่ : 23 มกราคม พ.ศ. 2560
เรียนครั้งที่ี  : 1   เวลา : 11.30 - 14.30 น.
กลุ่ม 102 ห้องเรียน 34-301



ความรู้ที่ได้รับ     

สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดต่างๆที่จะเรียนในภาคเรียนนี้ ข้อตกลงในชั้นเรียน

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง โดยมีช่วงอายุเป็นตัวกำกับ


    กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ

         กระบวนการดูดซึม (Assimilation)- Fitting a new experience it to an existing mental structure (schema). เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึบซับหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้รวมเข้าในโครงสร้างของสติปัญญา โดยจะเป็นการตีความ      กระบวนการปรับโครงสร้าง (Accommodation)
- Revising and existing schema because of new experience. การเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาเพื่อการอยู่รอด เป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่ 

  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล (Balance) ระหว่างอินทรีย์ และ สิ่งแวดล้อม(Environment)

-Equilibrium - seeking cognitive stability through assimilation and accomodation

-การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่

-การปรับโครงสร้างเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์ที่รับเข้ามา

-การรปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดตวามสมดุล(Balance) แล้วเกิดโครงสร้างมางสติปัญญา

สรุป : สติปัญญา เกิดจากการปรับแนวคิด และพฤติกรรม จนเข้าสู่สภาวะสมดุล
สมองทำงานเหมือนฟองน้ำ ทำงานสัมพันธ์ประสาทสัมผัสทั้ง 5  (ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย) โดยการ
ลงมือกระทำ
สมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสยังทำงาน
อยู่ตลอดเวลา
การรู้พัฒนาการ เพื่อที่เราจะได้จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับ
พัฒนาการ และยังใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผล
วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือ
กระทำ การเล่น ความสนใจเกิดจากพัฒนาการ

     การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล(ฺBalance)ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม(Environment)





Assessment


Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับDevelopment ทางด้านสติปัญญาของเด็ก ได้รู้ถึงพัฒนาการของเด็ก

-ได้รับทักษะการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ (ถาม-ตอบ)


Apply ( การนำไปใช้)

-ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้ นำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้ถูกให้ตรงตามพัฒนาการ

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศเย็น 


Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
มาก่อนเวลาเข้าเรียน ตั้งใจเรียนบางครั้ง เพราะมีเผลอคุยกับเพื่อนในชั้นเรียน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)


เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน และร่วมกันทำกิจกรรม

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน มีความพร้อมด้านการเตรียมสื่อการสอน ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น