วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 3 , 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกอนุทิน
วิชา : การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experience Management in Early Childhood Education )
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
ประจำวันที่่ : 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เรียนครั้งที่ี  : 3   เวลา : 11.30 - 14.30 น.
กลุ่ม 102 ห้องเรียน 34-301




ความรู้ที่ได้รับ

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐาน คุณภาพชี้วัดให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม


หลักการการจัดการศึกษาปฐมวัย

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักการในการศึกษาในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
       เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ โดยกำหนดหลักการ ดังนี้
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรม
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมเน้นการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย

   หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มุ่งให้เด็กพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2546:31)
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้


คุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย
คุณลักษณะตามวัยเป็นความสามารถตามวัยหรือพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ พัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุ อาจจะเร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็เป็นได้ แต่จะพัฒนาไป อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กำหนดคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญของเด็กช่วงอายุ 3-5 ปี


สาระที่ควรเรียนรู้

(1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและ ทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดีทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
(3) ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ฯลฯ
(4) สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก


กิจกรรม
ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คิดหัวข้อในการสอนมากลุ่มละ 1 หน่วย
หน่วย นม

หน่วย ไข่

  Assessment.

Skills (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้รู้เกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัย ปี46 และได้รับทักษะการคิด จากกิจกรรมคิดแผนการสอน

Apply ( การนำไปใช้)

-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก พยายามนั่งเรียน(กับพื้น) ตั้งใจฟังอาจารย์ สภาพแวดล้อมห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนมาก

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

- มาก่อนเวลาเรียน มานั่งรออาจารย์หน้าห้องเรียน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง ไม่มีเสียงคุยกันเลย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อมาอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น