วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 7 , 13 มีนาคม 2560

บันทึกอนุทิน
วิชา : การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experience Management in Early Childhood Education )
อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
ประจำวันที่่ : 13  มีนาคม  พ.ศ. 2560
เรียนครั้งที่ี  : 7   เวลา : 11.30 - 14.30 น.

กลุ่ม 102 ห้องเรียน 34-301




ความรู้ที่ได้รับ
คุณครูให้ฟังนิทาน กับดักหนู








การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้

ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
  วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน




Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

-ได้ทักษะการแสดงผลงานและแสดงความคิดเห็น
-ได้ทักษะการวางแผนและทำงานเป็นกลุ่ม
-ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ project approach

Apply ( การนำไปใช้)
-สามารถนำไปใช้ในการบูรณาการเข้ากับชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย และยังได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อีกด้วย และยังได้รู้วิธีการทำโปรเจค เผื่อเวลาที่เราสนใจ จะได้นำไปใช้ในการสอนในอนาคต

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
-เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ตั้งใจฟังอาจารย์สรุป และตั้งใจฟังเพื่อนบรรยายเวลานำเสนอ  ม่ีคุยกันบ้างเล็กน้อย  สภาพอากาศเย็นดี เพราะเครื่องปรับอากาศ

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
- มาก่อนเวลา มาเตรียมนำเสนอ เตรียมไฟล์งานโหลดลงคอม เพื่อใช้ในการนำเสนอ มีการตอบคำถามกับอาจารย์ผู้สอน และมีINTERACTIONกับเพื่อนๆ

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
-เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมดีมาก  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน พอถึงเวลาทำงานแต่ละคนก็ต่างทำงานของตนเอง พออาจารย์ให้จดบันทึก เพื่อนก็ตั้งใจจดบันทึกของตนเอง ไม่คุยเสียงดัง เวลาอาจารย์ถาม เพื่อนก็ตั้งใจตอบคำถาม

Teacher-Assessment (ประเมินครู)
-เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมสำหรับการสอน มีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคำถาม และสนใจเวลานักศึกษานำเสนองาน คอยให้คำชี้แนะเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น